วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเลือกสถานที่จัดเลี้ยง เตรียมความพร้อมในวันแต่งงาน

วิธีเลือกสถานที่จัดเลี้ยง
การ จะเลือกสถานที่จัดเลี้ยงนั้น เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ สำหรับคู่บ่าวสาวเลยก็ว่าได้ เพราะหลังจากดูฤกษ์ดูยามกันอย่างเป็นหมั้นเป็นเหมาะแล้วว่าจะจัดงานกันวัน ไหนดี แต่ว่าพอไปจองโรงแรมแล้วไม่ได้ขึ้นมาก็ยุ่งเลยล่ะค่ะ เพราะฉะนั้นหลังจากได้วันที่แน่นอนแล้ว ขอแนะนำให้ดูโรงแรมก่อนเลยค่ะ คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วจะเลือกโรงแรมไหนดีล่ะ ? ...ไม่ยากค่ะ      อย่าเพิ่งเครียดไป ลองมาดูกันทีละขั้นตอนนะคะ
1. คุณควรจะรู้ก่อนว่าจะเชิญแขกทั้งหมดจำนวนกี่คน
เพราะว่าแต่ละโรงแรม ก็มีเนื้อที่จำกัดแตกต่างกันไป ถ้าแขกของคุณเยอะมาก ๆ ก็ จะจัดโรงแรมเล็ก ๆ ไปได้เลยค่ะ หรือไม่บางโรงแรมก็จะมีห้องจัดเลี้ยงหลายห้อง การทราบจำนวนแขกโดยประมาณ จะทำให้เลือกได้ง่ายกว่าค่ะ
2. เรื่องที่สำคัญที่สุด คือ กำหนดงบประมาณ
3. ต่อมาก็คือ สถานที่ ที่จะใช้จัดงานนั้นอยู่บริเวณไหน ควรจะสะดวกกับคุณ และแขกที่จะมาในงาน เพื่อจะได้กำหนดขอบเขตว่าจะไปหาข้อมูลของโรงแรมใดบ้าง ของคุณ เพื่อจะได้เลือกรูปแบบการจัดเลี้ยงได้เหมาะสม(ควรถามผู้จัดเลี้ยงเกี่ยวกับรายละเอียดการจ่ายเงินด้วยค่ะ)
4. ต่อมาก็คือ ลักษณะของการจัดเลี้ยง     3 แบบค่ะ
- งานเลี้ยงโต๊ะจีน
- งานเลี้ยงบุฟเฟ่ต์ไทย
- งานเลี้ยงบุฟเฟ่ต์นานาชาติ
- งานเลี้ยงค็อกเทล
เมื่อเลือกแบบได้แล้วควรจะขอรายการอาหารที่ทางโรงแรมจะจัดให้กับเราด้วยนะคะ (บางโรงแรมจะมีการจัดให้ชิมอาหารฟรี ซึ่งจะจัดเหมือนวันงานเลย เพื่อให้เราได้ไปลอง เพื่อต้องการจะใช้บริการของโรงแรมค่ะ) ว่าคุณต้องการจัดเลี้ยงอาหารแบบไหน ซึ่งจะมีอยู่
5. เรื่องของสถานที่จอดรถ      ให้พอเพียงกับแขกของเราหรือไม่
6. รายละเอียดทั่ว ๆ ไป เกี่ยวกับ Conceptของงาน หรืออภินันทนาการอื่น ๆ ที่ทางร้านจะมอบให้ เช่น
- การจัดตกแต่งบริเวณ
- ดนตรี
- โปรเจคเตอร์สำหรับฉาย Presentation
- ดอกไม้
- น้ำแข็ง
- เค็ก
- ห้องสวีทสำหรับคู่บ่าวสาว
- ฯ.ล.ฯ
7. สุดท้ายก็เรื่องของเครื่องดื่ม Stock ของด้วยนะคะหากในงานของคุณ มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่นเหล้าหรือไวน์ ในวันงานก็ควรจะมอบหน้าที่ให้ใครเป็นคนช่วยเช็ค ก็เป็นสิ่งสำคัญนะคะ อย่าลืม สอบถามทางโรงแรม ให้แน่ใจก่อนว่า มีสถานที่จอดรถ

เพือความพร้อมในวันแต่งงาน
1. พ่องานหรือแม่งาน : สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดก็คือ ก่อนวันงาน ควรจะหาแม่งานหรือพ่องาน อย่างน้อย 1 คน ซึ่งจะเป็นญาติสนิท หรือเพื่อนๆ ก็ได้ ให้รับหน้าที่ดูแลทุกอย่างในวันงานแทนคู่บ่าวสาว เพื่อที่ว่าในวันงานนั้นคุณจะยุ่งมากๆ และมีหน้าที่เป็นตัวเอกของงานเท่านั้น ฉะนั้น คนๆ นี้ที่คุณเลือกให้มาเป็นหัวงาน จะรับหน้าที่ดูแลทุกอย่างในงาน ประมาณว่า…มีอะไรให้ไปถามได้ที่คนนี้
2. คุณควรจะนัดช่างภาพให้มาเร็วหน่อย เพื่อที่จะนัดแนะว่าจะถ่ายภาพกันแบบไหน มุมไหน ของสถานที่นั้นสวย ช่างภาพควรจะมาตระเตรียมทุกอย่างก่อน เช่น แสงไฟในงาน หรือขณะตัดเค้ก ช่างภาพจะถ่ายจากมุมไหน คุณจะต้องหันไปยิ้มทางไหน ไม่ใช่เค้กบังหมด
3. ทดลองฉาย Presentation ก่อนที่งานจะเริ่มขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหาผิดพลาด
4. เรื่องของไฟ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่จะต้องตระเตรียม กับฝ่ายจัดเลี้ยงว่า ช่วงเวลาไหนจะเปิดไฟ สว่างมากน้อยขนาดไหน เช่น ช่วงที่เปิด Presentation ก็ปิดไฟ, ช่วงที่ประธานขึ้นกล่าวคำอวยพร ก็เปิดไฟสว่าง, ช่วงที่เจ้าบ่าว- เจ้าสาว ตัดเค้ก ก็อาจจะเปิดไฟสลัว เป็นต้น
5. จดเบอร์โทรของคุณ และรายชื่อ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ที่คุณต้องติดต่อวันงาน เช่น ช่างภาพ, ช่างแต่งหน้า, ช่างทำผม .. ฯลฯ
6. เตรียมเงินสดไว้พอประมาณ ให้พอกับที่คุณจะต้องจ่าย เป็นค่าต่างๆ หรือค่ามัดจำ
7. ควรจะบอกกับทางโรงแรมให้กันอาหาร ให้กับครอบครัว เจ้าบ่าว-เจ้าสาว อย่างน้อย 1 ชุด ไม่เช่นนั้น เสร็จงานแล้วอาหารมักจะหมด หรือไม่ก็ทางโรงแรมก็จะเก็บไปหมด ปกติแล้วเจ้าบ่าว-เจ้าสาวจะมัวแต่รับแขก เลยไม่ได้ทานอาหาร ในงานของตัวเองเลย



ลักษณะและความหมายพานขันหมากแบบต่างๆ

พานขันหมากหมั้น
ขบวนขันหมากหมั้นจะ มีขันใส่หมากและขันใส่ของหมั้น ขันใส่หมากจะมีหมากดิบ 8 ผล พลู 4เรียง (เรียงละ 8 ใบ) หรืออาจใช้มากกว่านี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ขอแค่ให้เป็นจำนวนเลขคู่
ขันใส่ของหมั้นมักจะเป็นทองรูปพรรณ เครื่องเพชรพลอย สร้อยต่างหูกำไล หรือแหวนทองมรดกจากบรรพบุรุษ ห่อไว้ด้วยผ้าหรือกระดาษสีแดงให้เรียบร้อย สวยงาม ก่อนบรรจุลงในขัน สมัยนี้เปิดผ้าแดงออกมามีแต่ธนบัตรล้วนๆ หลายปึกเรียงซ้อนกัน
ขันประกอบ มีการเพิ่มขันที่สามเข้าไปเพื่อเป็นขันประกอบโดยบรรจุใบเงินใบท อง ถุงเล็กถุงน้อยที่ใส่ข้าวเปลือก ข้าวตอก ถั่วเขียว และงา (เป็นจำนวนคู่) ซึ่งจัดไว้เพื่อเอาความหมาย เกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองและความงอกงามในวันข้างหน้า ส่วนขันใส่หมาก ขันใส่ของหมั้น
ขันใส่ข้าวเปลือก ถั่วงา และใบเงินใบทอง ทั้งหมดจัดแต่งอย่างประณีต อาจมีการเย็บใบตองจับจีบ ประดับด้วยมาลัยดอกรักและบานไม่รู้โรยแล้วคลุมด้วยผ้าอย่างดีให ้เรียบร้อยสวยงาม

พานขันหมากงานแต่งงาน
ขันหมากงานแต่งก็คล้ายกันกับขันหมากหมั้น เพียงแต่มีเครื่องประกอบเยอะกว่า มีการจัดหมวดหมู่ต่างออกไป คือต้องจัดแยกเป็นขันหมากเอก และขันหมากโท ซึ่งฝ่ายเจ้าบ่าวจะทำหน้าที่ยกไป เพื่อมอบให้กับครอบครัวของฝ่ายเจ้าสาว

ขันหมากเอก
ประกอบด้วยขันหมากบรรจุหมากพลู หรืออาจจัดแยกเป็นหมากหนึ่งขันและพลูอีกหนึ่งขันก็ได้ จากนั้นต้องมีขัน
เงินสินสอดตามจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้ โดยบางตำราระบุว่า ควรจะต้องมีถุงเล็ก ถุงน้อยใส่ถั่วงา ข้าวเปลือก ข้าวตอก
ใส่มาในขันนี้ด้วย แต่ธรรมเนียมบางแห่งจัดแยกกัน คือจัดเงินสินสอดใส่ห่อผ้าลงในขันหนึ่ง แล้วจัดถุงข้าวและถั่วงา
ลงขันอีกใบหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะอย่างไรสิ่งสำคัญคือต้องตกแต่งให้เรียบร้อยสวยงาม เช่นประดับ มาลัยดอกรักบาน ไม่รู้โรย
ใบตองประดิษฐ์ และมีผ้าคลุมไว้ทุกขันเพื่อความเหมาะสม และต้องจัดให้ขันบรรจุหมากพลูมีขนาดใหญ่กว่าขันอื่นๆ ด้วย
นอกจากนี้ ขันหมากเอกประกอบด้วยพานผ้าไหว้และเตียบเครื่องคาวหวาน จัดไว้เป็นจำนวนเลขคู่ตามเคย พานไหว้
ได้แก่ พานใส่ผ้าสำหรับไหว้ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง โดยมากจัด 3 สำรับ
- สำรับแรกเป็นผ้าขาวสำหรับนุ่ง 1 ผืน และห่ม 1 ผืน เทียน และธูปหอม ดอกไม้อีกกระทง อันนี้สำหรับ เซ่นไหว้ฝีปู่ย่า
ตายาย
- ส่วนอีก 2 สำรับใช้ไหว้พ่อและแม่เจ้าสาว ไม่ต้องมีธูปเทียนและดอกไม้ กรณีที่ปู่ย่าตายายยังมีชีวิตอยู่ ก็ไม่ต้องจัด
พานผ้าไหว้เซ่นบรรพบุรุษ หรือผ้าไหว้สำหรับพ่อตาแม่ยาย แทนที่จะใช้ผ้าเป็นผืนอาจเปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าที่ท่านจะนำไปใช้ง าน
ได้จริง เตียบ คือภาชนะชนิดหนึ่งสำหรับใส่เครื่องของกิน เป็นตะลุ่มที่มีปากผายออกและมีฝาครอบ
เตียบเ ครื่องคาวหวานในเครื่องขันหมากเอก มีไว้เพื่อเซ่นไหว้ผีปู่ย่าตายาย หรือผีบ้านผีเรือนของบ้านเจ้าสาว
โดยให้จัดไว้ 4 เตียบ
- เตียบแรกจะใส่เหล้า 1 ขวด
- เตียบสองไก่ย่าง 1 ตัว
- เตียบสามใส่ขนมจีนน้ำยาและห่อหมกปลา
- เตียบสี่เป็นมะพร้าวอ่อน ส้ม กล้วย รวมกับขนมหวานชนิดอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ ด้วยแต่ละ
ท้องถิ่นมีธรรมเนียมนิยมเรื่องอาหารต่างกันออกไปอยู่แล้ว ขอเพียงให้มีเหล้า 1 เตียบ และผลไม้ของหวาน 1 เตียบ ก็เป็นใช้ได้
ส่วนตัวเตียบนั้นอาจดัดแปลงเปลี่ยนเป็นพานหรือถาดก็ไใช้ได้เช่น กัน แต่ขอให้เตรียมผ้าสวยๆ ไว้คลุมปิดให้เรียบร้อยเป็นพอ
(ในบางงานตัดการจัดเตียบออกไปเลยเพราะปู่ย่าตายายก็ยังอยู่กันค รบแถมไม่ได้จัดงานที่บ้านจึงไม่ ต้องเซ่นไหว้ผีบ้านผีเรือน)

ขันหมากโท
เป็นเครื่องของประเภทขนมและผลไม้ บรรจุมาในขันหรือภาชนะอื่น เช่นถาดหรือ พาน ชนิดของขนมและผลไม้
ไม่จำกัด แต่ส่วนมากมักใช้ชนิดที่นิยมในงานมงคล มีกล้วย ส้ม มะพร้าวอ่อน ขนมชั้น ฝอยทอง ข้าเหนียวแก้ว กะลาแม
จัดเป็นคู่ทั้งจำนวนชิ้นขนม จำนวนภาชนะที่บรรจุ แล้วปักธงกระดาษสีแดงตกแต่งไว้ตรงกลางทุกขันหรือทุกถาด

3. องค์ประกอบของขบวนขันหมาก
ลำดับขั้นก่อนหลังการจัดขบวนนั้น ต้องเริ่มต้นด้วยเถ้าแก่ของฝ่ายเจ้าบ่าว ตามมาด้วยคนยกขันหมากเอก
ซึ่งต้องเรียงตามลำดับ คือ คนยกขันหมากพลู ขันเงินสินสอด ขันผ้าไหว้ และเตียบ
หลังจากนั้นถึงต่อท้ายด้วยคนยักขันหมากโทอีกที ที่เห็นกันบ่อยๆ จนแทบจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของขบวนขันหมาก
คือวงกลองยาวที่ตีฆ้องร้องรำนำหน้าขบวนกันมา สิ่งที่ช่วยสร้างสีสันอีกอย่าง ได้แก่ การตกแต่งหน้าขบวน ซึ่งนิยมใช้ต้นอ้อย
1 คู่ ถือเป็นการเอาเคล็ดเรื่องความหวาน ในบางท้องถิ่นใช้ต้นกล้วย 1 คู่แทน หมายถึงการมีลูกหลานมากมาย และที่ใช้ทั้ง
กล้วยทั้งอ้อยก็เห็นกันอยู่บ่อยๆ ส่วนวงกลองยาวและต้นกล้วยต้นอ้อย หากสถานการณ์ไม่อำนวยไม่ต้องมีก็ได้ เพราะไม่ใช่
องค์ประกอบสำคัญ แต่โดยส่วนมากก็มักจะอยากให้มีประกอบอยุ่ในขบวนด้วย เพื่อความสนุกสนานเฮฮาของทั้งเจ้าภาพ
และของแขกที่มาร่วมงาน ส่วนใหญ่แล้วผู้ทำหน้าที่ยกข้าวของเครื่อง ขันหมากเอกมักใช้ผู้หญิง ส่วนขันหมากโทจะเป็นชายหรือหญิงทำหน้าที่ยกก็ได้
ส่วนพานธูปเทียนแพนะคะ
เป็นพานที่ใช้ในพิธีรับไหว้ผู้ใหญ่ค่ะ




10 สิ่งสำคัญสำหรับพิธีแต่งงานแบบไทย และ แบบจีน

10 สิ่งสำคัญพิธีแบบไท
ขั้นตอนธรรมเนียมในการปฏิบัติในการแต่งงานแบบไทย ซึ่งรวมทั้งพิธีหมั้นและแต่งงานในวันเดียวกัน ถึงแม้จะรวบรัดแต่ก็ครบถ้วนตามประเพณี
1.ผู้ใหญ่ฝ่ายชายเจรจาทาบทามสู่ขอ หาฤกษ์หมั้น รวมไปถึงฤกษ์แต่งงาน ซึ่งอาจเป็นวันเดียวกันหรือต่างวันก็ได้ ปัจจุบันนิยมยกขันหมากในวันแต่งงาน และมักจะรวมพิธีทั้งหมดในวันเดียว
2.การแต่งงานแบบรวมพิธีในวันเดียว จะเริ่มต้นตั้งแต่เช้า พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ คู่บ่าวสาวตักบาตร ถวายภัตราหาร เลี้ยงพระ และทำพิธีทางศาสนาจนเสร็จ
3.จากนั้นผู้ใหญ่ ฝ่ายเจ้าบ่าวจัดเตรียมขันหมากและเครื่องบริวารประกอบ ได้แก่ พาน หรือขันสินสอดทองหมั้น พานแหวน พานขนม ผลไม้ และต้นกล้วย ต้นอ้อย ซึ่งนิยมจัดเป็นจำนวนคู่
4.แห่ขันหมาก ในขบวนจะมีเถ้าแก่เดินนำเจ้าบ่าวและพ่อแม่ตามด้วยผู้ที่ยกขันหมาก ต่อจากนั้นเป็นคนถือพานสินสอดทองหมั้น พานแหวน พานขนม ผลไม้ และต้นกล้วย ต้นอ้อย อาจมีกลองยาว และคนรำนำหน้าขบวนเพื่อสร้างสีสันให้งานก็ได้
5.ฝ่ายเจ้าสาวจะส่งเด็กๆ และญาติพี่น้องออกมากั้นขบวนโดย ใช้สายสร้อยเงินหรือทองมากั้น ซึ่งฝ่ายเจ้าบ่าวจะต้องแจกซองซึ่งมีเงินอยู่ เพื่อผ่านประตูเงินประตูทองต่างๆ จนเข้าไปถึงในบ้านฝ่ายหญิง
6.ฝ่ายเจ้าสาวจะออกมารับขัน หมาก ซึ่งเมื่อจัดวางขันหมากเรียบร้อยแล้ว จะตรวจดู สินสอดทองหมั้น แหวน จากนั้นเถ้าแก่จะเรียกเจ้าสาวออกมา รอถึงฤกษ์จึงสวมแหวนเป็นอันเสร็จพิธีหมั้น
7.พิธีไหว้ผู้ใหญ่เจ้าบ่าวเจ้าสาวจะ ไหว้ตามลำดับอาวุโส แล้วจึงยกพานธูปเทียนแพมอบให้ จากนั้นผู้ใหญ่ให้ของรับไหว้ซึ่งเป็นเงินหรือของมีค่า อาจผูกข้อไม้ข้อมือได้ด้วยก็ได้ แล้วทั้งคู่มอบผ้าไหว้ให้ผู้ใหญ่ และกราบอีกครั้ง
8.พิธีหลั่งน้ำสังข์ คู่บ่าวสาวจุดเทียนและบูชาพระ จากนั้นพ่อแม่จะพาไปนั่งที่ตั้ง โดยที่เจ้าสาวนั่งทางซ้ายเจ้าบ่าวนั่งทางขวา ประธานคล้องพวงมาลัย เจิมหน้าผาก สวมมงคลแฝด แล้วจึงหลั่งน้ำสังข์อวยพร โดยพ่อแม่และผู้อาวุโสจะหลั่งน้ำที่ศรีษะ
9.ถ้าทำพิธีหลั่งน้ำสังข์ในช่วงเช้า จะตามด้วยการเลี้ยงอาหารกลางวัน และมีงานฉลองในตอนเย็นของวันนั้นอีกครั้งหรือไม่ก็ได้
10.พิธีปูที่นอน ผู้ที่มาปูจะต้องเป็นคู่สามีภรรยาที่รักกันมีลูกหลานและเป็นคนดี โดยมีของมงคลวางไว้ข้างที่นอน ได้แก่ ฟักเขียว หินบดยา แมวคราว เมื่อได้เวลาส่งตัว ผู้ใหญ่จะจูงเจ้าสาวเข้ามาหาเจ้าบ่าว แล้วให้โอวาท อวยพร


10 ขั้นตอนหลักตามแบบพิธีจีน
รายละเอียดและข้อปฏิบัติในพิธีแต่งงาน แบบจีนนั้นมีอยู่มาก ซึ่งที่หยิบยกมานี้เป็นพิธีแต่งงานแบบจีนแต้จิ๋วซึ่งเน้นหลักสำคัญของพิธี ที่ต้องปฏิบัติให้ครบ แต่อาจแตกต่างกันบ้างในบางรายละเอียด
1.เริ่มต้นด้วยการสู่ขอ ฝ่ายชายจัดหาซินแสผูกดวงกำหนด ฤกษ์ยาม ตั้งแต่ฤกษ์หมั้น ฤกษ์ตัดชุด ฤกษ์ปูเตียง ไปจนถึงฤกษ์รับตัวเจ้าสาว
2.ฝ่ายชายจัดเตรียมของหมั้น ได้แก่ เงินสินสอด ( ถ้าฝ่ายหญิงมาอากง อาม้าอยู่ ต้องจัดเงินอั่งเปาซองแดงให้ด้วย ) ทองหมั้นนิยมเป็นเครื่องประดับ 4 อย่างคือ สร้อย กำไล ต่างหู และแหวน ยังมีเครื่องประกอบเช่น ผลไม้ ขนม ชุดหมู และของเซ่นไหว้ 2 ชุด ผลไม้ที่นิยมใช้คือ ส้มเช้งเขียว กล้วยเขียวทั้งเครือ จะใช้จำนวนคู่และติดตัวหนังสือซังฮี้ ส่วนขนมหมั้นได้แก่ จันอับ ขนมเหนียวเคลือบเงา ขนมเปี๊ยะโรยงา ถั่วตัด ข้าวพองทึบ โก๋อ่อน เสริมด้วยซาลาเปา พกท้อ และคุกกี้
3.ฝ่ายหญิงจัดเตรียมของพิธีหมั้น ได้แก่ แหวนสำหรับมอบให้เจ้าบ่าว เอี๊ยมแดง ซึ่งมีกระเป๋าให้ใส่เมล็ดธัญพืช 5 อย่าง เหรียญทองลายมังกร ต้นซุงเฉ้า เสียบปิ่นยู่อี่ที่ปากกระเป๋าเอี๊ยม และมีสร้อยทองคล้องที่สายเอี๊ยม
4.เมื่อถึงฤกษ์หมั้น ฝ่ายชายยกขบวนมามอบสินสอด ทองหมั้นสวมแหวนและเครื่องประดับให้เจ้าสาว เสร็จพิธีคู่บ่าวสาวและแขกรับประทานขนมอี้ จากนั้นแบ่งขนมหมั้นให้กับญาติทั้งสองฝ่าย
5.เช้าวันแต่งงาน เจ้าสาวสวมชุดใหม่สวยงาม เสียบปิ่นยู่อี่ และประดับใบทับทิมที่ผม เมื่อใกล้ถึงฤกษ์ เจ้าสาวจะทานอาหารกับครอบครัว
6.เมื่อถึงเวลาเจ้าบ่าวมารับตัว บางบ้านอาจมีการกั้นประตูในช่วงนี้ จากนั้นทั้งคู่ไหว้ฟ้าดิน ไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพเจ้าเตาไฟ และไหว้บรรพบุรุษของเจ้าสาว (หากอาม่า อากง ยังมีชีวิตอยู่ ก็ไหว้ท่านก่อนยกน้ำชาให้พ่อแม่เจ้าสาว)
7.ก่อนออกจากบ้าน คู่บ่าวสาวต้องทานขนมอี้ จากนั้นพ่อส่งเจ้าสาวไปกับเจ้าบ่าว โดยมีญาติผู้ชายของเจ้าสาวถือตะเกียงเซฟ และกระเป๋าซึ่งบรรจุสมบัติส่วนตัวไปด้วย
8.เมื่อถึงบ้านเจ้าบ่าว ทั้งคู่ต้องไหว้ฟ้าดิน ไหว้เจ้าที่ รวมทั้งไหว้เทพเจ้าเตาไฟ และไหว้บรรพบุรุษของเจ้าบ่าว จากนั้นยกน้ำชาให้พ่อแม่เจ้าบ่าวและญาติผู้ใหญ่ เสร็จ แล้วคู่บ่าวสาวกินขนมอี้
9.ฤกษ์เข้าหอ การปูเตียงต้องมีฤกษ์ เมื่อผู้ใหญ่ปูเสร็จต้องวางส้มไว้ที่มุมเตียง และอีก 4 ผลวางใส่จานที่มีตัวซังฮี้และใบทับทิมนำไปวางกลางเตียง
10.เช้าวันรุ่งขึ้น เจ้าสาวต้องยกน้ำล้างหน้าให้พ่อแม่สามีเป็นเวลา 3 วัน จากนั้นน้องชายเจ้าสาวมารับทั้งคู่กลับไปกินข้าวที่บ้านฝ่ายหญิง ถือเป็นอันเสร็จพิธีแต่งงาน

พิธีการ พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์

พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ คือขั้นตอนที่สำคัญของพิธีมงคลสมรส(แต่งงาน) เพราะเมื่อหลั่งน้ำพระพุทธมนต์เสร็จแล้ว นั้นหมายถึงทั้งคู่ได้เป็นสามีภรรยากันแล้วตามธรรมเนียมไทย แต่ปัจจุบันทั้งคู่ต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันด้วยจึงจะถือว่าถูกต้องตามธรรมเนียม และถูกต้องตามกฎหมาย ด้วย
การหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ คือการรดน้ำสังฆ์  จะเริ่มจากประธานในพิธี(เฒ่าแก่ หรือ ผู้ที่นับถือ) จะนำคู่บ่าว-สาว กราบพระพุทธ แล้วจูงคู่ บ่าว-สาว ขึ้นนั่งที่ชุดตั่งหลั่งน้ำพระพุทธมนต์  เจ้าสาวนั่งทางซ้าย เจ้าบ่าวนั่งทางขวา จากนั้นประธานในพิธี(เฒ่าแก่ หรือ ผู้ที่นับถือ) จะสวมมงคลแฝดให้แก่คู่ บ่าว-สาว และทำการเจิมหน้าผาก แล้วหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ ลงที่มือ บ่าว-สาว พร้อมกล่าวคำอวยพรแก่คู่บ่าว-สาว จากนั้น บิดา มารดา  เจ้าบ่าว บิดา มารดา เจ้าสาว และญาติของ บ่าว-สาว จะหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ พร้อมทั้งกล่าวคำอวยพรให้คู่ บ่าว-สาว ตามลำดับ
*พิธีการ*
เมื่อได้ฤกษ์ เจ้าภาพหรือผู้แทนนำคู่สมรสเข้าห้องพิธีฯ พร้อมด้วยเพื่อนของคู่สมรสเชิญประธานในพิธีฯ เข้าประกอบพิธีฯ โดยคู่สมรสทำความเคารพประธานฯ ก่อนเป็นการเบื้องต้น
ประธานฯ รับเทียนชนวน จุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัยในขณะนี้ คู่สมรสยืนประนมมือระลึกถึง คุณพระรัตนตรัยและอธิฐานจิต ที่จะอยู่ครองคู่กันด้วยความซื่อสัตย์สุจริตตลอดไป
เมื่อประธานฯ จุดเทียนธูปบูชาพระรัตนตรัย และกราบพระเรียบร้อยแล้ว คู่สมรสกราบ พระรัตนตรัยแล้วเข้าไปนั่งยังตั่งสำหรับรอรดน้ำสังข์
ประธานฯ รับพวงมาลัย 2 ชาย คล้องให้แก่คู่สมรสตามลำดับ
คู่สมรสวางแขนทั้ง 2 ข้างของแต่ละคนบนหมอนรอง ประนมมือยื่นออกไปตรงขันรองน้ำ
ประธานฯ รับมงคลแฝดสวมศีรษะคู่สมรส รับเครื่องเจิมและเจิมหน้าผากคู่สมรส แล้วรับสังข์หลั่งน้ำพระพุทธมนต์ให้สืบไป
เมื่อประธานฯ หลั่งน้ำพระพุทธมนต์แล้ว เจ้าภาพหรือผู้แทนฯเชิญแขกเข้ามาหลั่งน้ำสังข์ติดต่อกันไป
เสร็จการหลั่งน้ำสังข์แล้ว เจ้าภาพหรือผู้แทนฯ เชิญประธานฯ หรือแขกผู้มีอาวุโสถอดมงคลแฝด หรือเจ้าภาพจะถอดเองก็ได้ แล้วมอบมงคลแฝดให้แก่คู่สมรส
คู่สมรสลุกขึ้นจากตั่งที่นั่งแล้วเข้าไปกราบพระรัตนตรัยและทำความเคารพท่านผู้ถอดมงคลแฝด
เสร็จพิธีฯ แล้ว เจ้าภาพหรือผู้แทนฯ นำคู่สมรสออกไปกราบประธานฯ และทำความเคารพแขก ผู้มาอวยพร เพื่อแสดงความขอบคุณที่ท่านได้กรุณาประกอบพิธีและอำนวยพร
เสร็จพิธี


สิ่งที่ต้องเตรียม
โต๊ะสำหรับวางหมอนรองมือ พร้อมก้าอี้สำหรับให้บ่าวสาวนั่งรับน้ำสังข์
โต๊ะขนาดเตี้ยกว่าวางด้านหน้าสำหรับวางพานรองน้ำสังข์
มงคลแฝด กะความยาวระหว่างมงคลประมาณ 2 ศอก
คนส่งและรับสังข์ 2 คน
เพื่อนสนิทของบ่าวสาว สองคู่
กระดาษเช็ดหน้า มอบให้เพื่อนบ่าวสาว ถือไว้คนละผืน
ของชำร่วย
พานสำหรับวางมงคล
จัดโต๊ะให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือให้เจ้าบ่าวนั่ง ทางด้านขวาของเจ้าสาว 
พระสงฆ์ผู้เป็นประธานเจิมหน้าผากให้เจ้าบ่าว 3 จุด จากนั้นจับมือฝ่ายชายเจิม 3 จุดให้เจ้าสาว สวมมงคลแฝดให้บ่าว-สาว ให้เพื่อนบ่าว-สาว ยืนเป็นกำลังใจด้านหลังโดยหันหน้าไปทิศเดียวกัน
การรดน้ำสังข์ต้องเริ่มจากขวาไปซ้าย เพราะฉะนั้นต้องเริ่มรดน้ำสังข์ให้เจ้าบ่าวก่อน
มีคนคอยตักน้ำพระพุทธมนต์เติมในสังข์ส่งให้คุณพ่อคุณแม่ของทั้งคู่ผลัดกันรดน้ำสังข์ ขณะที่จรดปากสังข์ ที่มือลูกจะให้พรหรือฝากฝังลูกของตนให้อีกฝ่ายช่วยดูแล ตอนนี้เองไม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมักจะร้องไห้ด้วยความปลื้มปีติในความผูกผันที่ต่างมีให้กัน เพื่อนบ่าวสาว ที่ยืนอยู่ด้านหลังมีหน้าที่ส่งผ้าหรือกระดาษให้ซับน้ำตา
ด้ายมงคลถือว่าเป็นของสูง เป็นสิริมงคล ให้เก็บไว้ถาวรในที่สูง เช่นบนหิ้งพระ หากจะนำไปใช้ในการต่อไป ก็ใช้ในการที่เป็นมงคลเท่านั้น
เมื่อจรดน้ำสังข์เสร็จ ขั้นตอนต่อไปเป็นการปลดมงคลออกจากศรีษะของบ่าวสาว ให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือเป็นคนปลดโดยยกมงคลขึ้นพร้อมกันวางบนพานที่เตรียมไว้ จากนั้นจับมือคู่บ่าวสาว เป็นสัญญาณให้ทั้งคู่ลุกขึ้น แต่มีเคล็ดลับบอกมาตั้งแต่สมัยโบราณว่า ถ้าฝ่ายหญิงลุกก่อนจะได้เป็นใหญ่ในบ้า
เมื่อรดเสร็จส่งสังข์คืนให้ผู้ยืนรอรับพร้อมรับของชำร่วยเล็กๆน้อยๆเวียนไปอย่างนี้จนครบทุกคนส่วนเด็กๆหรือผู้มีอายุน้อยกว่าคู่แต่งงานไม่ควรรดน้ำสังข์เพราะเวลาที่ให้พร จะต้องเป็นผู้ที่อาวุโสกว่าเท่านั้น

ขั้นตอน งานแต่งงานแบบไทย

พิธีตักบาตรร่วมขัน  
ฝ่ายชายจะเป็นผู้มาร่วมพิธีตักบาตรเลี้ยงพระที่บ้านฝ่ายหญิงในตอนเช้าของวันงานพิธี โดยคู่บ่าวสาวจะตักบาตร โดยใช้ทัพพีและใช้ขันใส่ข้าวใบเดียวกัน จากนั้นเจ้าบ่าวจึงจะออกไปตั้งขบวนเตรียมสู่พิธีแห่ขันหมากต่อไป

พิธีแห่ขันหมาก        
เสียงตีกลองโห่ร้องอย่างครึกครื้นของขบวนขันหมากฝ่ายเจ้าบ่าวนี่เองที่เพื่อนบ้านจะรู้โดยทั่วกันว่ามีงานมงคล กับลูกสาวบ้านนี้แล้ว โดยในยุคปัจจุบันนิยมจัดพิธีหมั้นและพิธีแต่งงานในวันเดียวกัน ดังนั้นจึงมีการรวบรัดให้การดำเนิน พิธีต่าง ๆ รวดเร็วมากขึ้น ทำให้มีการยุบรวมเอาขนหมากหมั้นและขันหมากแต่งเข้าไว้ด้วยกัน
ขันหมากแต่งอาจยุ่งยากกว่าขันหมากหมั้นเล็กน้อยคือมีทั้ง "ขันหมากเอก" ที่บรรจุหมากพลู ถุงห่อถั่วงา เตียบสำหรับใส่หมูต้ม ห่อหมก ขนมจีนแล้วปิดฝาหุ้มคลุมด้วยผ้าแพรหรือผ้าไหมให้สวยงาม ส่วน "ขันหมากโท" จะเป็นการบรรจุผลไม้และขนมต่าง ๆ ที่มีชื่อเป็นมงคล อาทิ ทองเอก ฝอยทอง ซึ่งนิยมจัดเป็นคู่เพื่อความเป็นสิริมงคล นอกจากนี้ต้องเตรียมพานไหว้และพานธูปเทียนไว้สำหรับพิธีรับไหว้ ซึ่งจะมีทั้งต้นกล้วย ต้นอ้อยมะพร้าวอ่อน พานใส่เหล้า แต่หากไม่อยากให้ขบวนขันหมากดูเอิกเกริกจนเกินไป สามารถตัดในส่วนของต้นกล้วย ต้นอ้อย หรือขันหมากโทออกก็ได้ และสำหรับของหมั้นที่นิยมนำมาใช้ประกอบในพิธีก็คือของมีค่า เช่น ทองคำ หรือแหวนเพชร รวมทั้งเงินสินสอดและเงินทุน ซึ่งจะถูกนำมาจัดรวมไว้ในขันหมาก โดยทั่วไปนั้นจะใช้การโห่ร้องรับกัน 3 ลา (ครั้ง) เพื่อเป็นการให้สัญญาณ และเมื่อ ขบวน เดินทางมาถึงบ้านฝ่ายเจ้าสาวแล้วก็จะใช้การโห่ร้องรับกัน 3 ลา อีกครั้งหนึ่งเพื่อเป็นการบอกกล่าวฝ่ายครอบครัว เจ้าสาว ว่าขบวนขันหมากได้เดินทางมาถึงแล้ว

พิธีปิดหรือกั้นประตู
เมื่อขบวนขันหมากของฝ่ายชายเดินทางมาถึงบ้านของฝ่ายหญิง บรรดาญาติพี่น้องของฝ่ายหญิง จะออกมา กั้นประตู โดยถือสร้อยเงิน สร้อยทอง หรือผ้าแพรคนละฝั่งเพื่อทำเป็นประตู ซึ่งถ้าอิงประเพณีดั้งเดิมนั้นมีหลัก ๆ เพียง 3 ประตู คือ ประตูชัย ประตูเงิน และประตูทอง (ตามลำดับ) แต่ก่อนที่ฝ่ายชายจะผ่านแต่ละประตูไปจะต้องบอก ชื่อประตูให้ถูกต้อง และต้องให้ซองแถมพก (ซองใส่เงิน) แก่ผู้เฝ้าประตู ส่วนสาเหตุที่ต้องบอกชื่อประตูนั้น ก็เพื่อเป็น อาณัติสัญญาณบอกให้รู้ว่าใครเป็นใคร แต่ทว่าการกั้นประตูในปัจจุบันนั้นเห็นจะมุ่งเน้นไปที่ การต่อรอง ขอค่าผ่านประตู ในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นกุศโลบายของคนโบราณให้เกิดการหยอกล้อเพื่อความสนุกสนานเสียมากกว่า หลังจาก ผ่านประตูทุกด่านเรียบร้อยแล้ว ฝ่ายหญิงจะจัดเด็กผู้หญิงหน้าตาน่ารัก ถือพานรองหมากพลูไว้รอเชิญขบวนขันหมาก ของเจ้าบ่าวขึ้นเรือน ซึ่งเจ้าบ่าวต้องเตรียมซองเงินไว้เป็นรางวัล สำหรับเด็กที่มารอรับขบวนขันหมาก

พิธีนับสินสอด
ในพิธีการนับสินสอดนั้นจะกระทำต่อหน้าสักขีพยานของทั้งสองฝ่าย โดยมีผู้ใหญ่ของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย เป็นผู้ดูแลให้เป็นไปตามขั้นตอน การนับสินสอดนั้นจะเริ่มโดยการวางเงินสินสอดบนผ้าแดงหรือผ้าเงินผ้าทอง จากนั้น ฝ่ายหญิงจะทำการตรวจนับตามธรรมเนียมประเพณี ด้วยเงินสินสอดนั้นโบราณเข้าให้ใส่เกินจำนวนไว้เล็กน้อย เพราะเมื่อถึงเวลาที่ฝ่ายหญิงทำการตรวจนับจะได้ร้องอุทานว่า "เงินเกิน" หรือ "เงินงอก" เป็นเคล็ดว่าต่อไปครอบครัว จะได้มีเงินไหลมาเทมา เสร็จแล้วญาติผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายจะทำการโปรยถั่ว ข้าวตอก ดอกไม้ ฯลฯ ลงบนสินสอด จากนั้นแม่ฝ่ายเจ้าสาวจะห่อสินสอดด้วยผ้าและแบกขึ้นไว้บนบ่า (ตามประเพณีต้องแบกขึ้นบนบ่าเท่านั้น) และให้พูด เอาเคล็ดว่า "ห่อนี้หนักเสียจริง ๆ คงมีเงินทองงอกเงยออกมามากมายเต็มบ้านเต็มเรือน"

พิธีสวมแหวนหมั้น
จะกระทำต่อหน้าสักขีพยานเช่นกัน ซึ่งในที่นี้หมายถึง บิดา มารดา และญาติสนิท รวมถึงเพื่อนฝูงของทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง ซึ่งเมื่อถึงฤกษ์ที่เป็นมงคลแล้วฝ่ายชายจึงทำการสวมแหวนหมั้นให้แก่ฝ่ายหญิง จากนั้นฝ่ายหญิง จะรับไหว้พร้อมกับสวมแหวนแลกกับฝ่ายชาย แต่ที่จริงแล้วของหมั้นนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นแหวนเสมอไป อาจใช้สร้อยคอ กำไล ทองแท่งเป็นของหมั้นก็ได้ แต่ที่นิยมเลือกแหวนก็เพราะเป็นของมีค่าที่ทั้งสองคนสามารถใส่ติดตัวได้ตลอดเวลา

พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์
พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์หรือเรียกง่าย ๆ ว่าการรดน้ำสังข์นั้น เริ่มจากการจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วจึงไปนั่งบนตั่งรดน้ำที่เตรียมไว้ โดยให้ฝ่ายหญิงนั่งทางซ้ายและฝ่ายชายนั่งทางขวา ตลอดการรดน้ำเพื่อนเจ้าบ่าว และเพื่อนเจ้าสาวฝ่ายละ 2 คนยืนประกบอยู่ด้านหลังที่สำคัญต้องเป็นคนโสด จากนั้นเถ้าแก่หรือพ่อแม่ของคู่บ่าวสาว จะสวมมาลัยและมงคลคู่พร้อมกับเจิมที่หน้าผากและเริ่มรดน้ำก่อนตามด้วยญาติผู้ใหญ่ แขกเหรื่อที่อาวุโสกว่า ตามด้วยญาติมิตรและเพื่อนฝูงตามลำดับ พิธีนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญของพิธีแต่งงานเลยทีเดียว เพราะเมื่อทำการ หลั่งน้ำพระพุทธมนต์เรียบร้อยแล้ว ก็เป็นอันว่าชายหญิงคู่นั้น ๆ เป็นสามีภรรยากันถูกต้องตามธรรมเนียม

พิธีรับไหว้
หลังพิธีรดน้ำเสร็จสิ้นจะเป็นพิธีไหว้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือเพื่อเป็นการฝากเนื้อฝากตัว ถ้าเป็นพ่อแม่ และญาติผู้ใหญ่ต้องกราบ 3 ครั้ง ส่วนญาติคนอื่น ๆ ให้กราบเพียงครั้งเดียวไม่ต้องแบมือ แล้วจึงส่งพานธูปเทียนให้ ผู้ใหญ่จะรับไหว้และให้พร พร้อมกับใส่เงินลงในพานให้เป็นเงินทุน บางแห่งอาจมีการผูกข้อมือด้วยสายสิญจน์ ในขณะอวยพร

พิธีปูที่นอนและส่งตัวเข้าหอ
พิธีนี้จัดได้ว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของคืนแต่งงาน สิ่งของมงคลที่ต้องเตรียมคือ ฟักเขียวลูกหนึ่ง หม้อใหม่ใส่น้ำใบหนึ่ง หินบดยา และถั่วงาพร้อมทุนสินสอดวางไว้บนพาน แล้วนำไปวางไว้ข้างที่นอนเพื่อเป็น เครื่องหมายสำหรับอำนวยพรว่า "ให้คู่บ่าวสาวมีใจเย็นเสมือนน้ำฟัก มีน้ำใจหนักดั่งศิลา มีแต่ความจำเริญ
วัฒนาเหมือนถั่วงา" จากนั้นผู้ใหญ่ฝ่ายบ่าวสาวจึงจัดแจงวางหมอนหนุนศีรษะ และให้ผู้ใหญ่คู่ที่ได้รับเชิญมา จัดทำพิธีนี้ลงนอนก่อนเป็นปฐมฤกษ์ กล่าวให้ศีลให้พรแล้วจึงออกมาจาห้องหอ

พิธีจัดเลี้ยง
ขึ้นอยู่กับความสะดวกของคู่บ่าวสาว
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก :: นิตยสาร BRIDE


วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ให้เช่าชุดตั่งรดน้ำสังฆ์ พร้อมอุปกรณ์

เรามีแพคเกจเช่าชุดตั่ง 2 แบบให้เลือกสรรค์ค่ะ


แพคเกจเช่าชุดตั่ง ชุดที่1 7000
ประกอบด้วย


-ชุดตั่งหลั่งน้ำสังฆ์ครบชุด สีครีมทองสวยงาม
-ชุดหลั่งน้ำกะไหล่ทอง คนโทน้ำ หอยสังฆ์ ขันน้ำ พานรอง ตลับแป้งเจิม และพานวางอุปกรณ์ครบชุด
-พานหลั่งน้ำดอกกุหลาบ 1 คู่
-มาลัยบ่าว-สาว 1 คู่ พร้อมพานวางมาลัย
-Flower stand 1 คู่
-ดอกไม้ถวายพระ 9 ชุด
-ติดตั้งฟรีฉากหลัง
ราคาชุดละ 7,000 บาท

แพคเกจเช่าชุดตั่ง ชุดที่2 9000 บาท
ประกอบด้วย

-ชุดตั่งหลั่งน้ำสังฆ์ครบชุด สีครีมทองสวยงาม
-ชุดหลั่งน้ำกะไหล่ทอง คนโทน้ำ หอยสังฆ์ ขันน้ำ พานรอง ตลับแป้งเจิม และพานวางอุปกรณ์ครบชุด
-พานรองหลั่งน้ำสังฆ์แบบไทยปักดอกรัก มาลัยรูปหัวใจ 1 คู่
-มาลัยบ่าว-สาว 1 คู่ พร้อมพานวางมาลัย
-Flower stand 1 คู่
-ดอกไม้ถวายพระ 9 ชุด
-โฟมป้ายชื่อ บ่าว-สาว
-ติดตั้งฟรีฉากหลัง
ราคาชุดละ 9,000 บาท

บริการจัดทำพานขันหมาก

บริการจัดทำพานขันหมาก งานใบตอง ดอกไม้สด สำหรับพิธีแห่ขันหมาก
แพคเกจพานขันหมาก

พานขันหมาก ชุด A
1.พานขันหมากเอก2,000
2.พานแหวนหมั้น1,200
3.พานสินสอดกระทง1,800
4.พานธูปเทียนแพแบบมาลัยคาด800
ราคารวม 5,800 เสนอราคาพิเศษ 5,500 บาท

พานขันหมาก ชุด B
1.พานขันหมากเอก2,000
2.พานแหวนหมั้น1,200
3.พานสินสอดกระทง1,800
4.พานธูปเทียนแพ800
5.พานเชิญขันหมาก1,500
ราคารวม7,300เสนอราคาพิเศษ 6,800

พานขันหมาก ชุด C
1.พานขันหมากเอก2,000
2.พานแหวนหมั้น1,200
3.พานสินสอดกระทง1,800
4.พานธูปเทียนแพ800
5.พานเชิญขันหมาก1,500
6.พานขนมมงคล 1 คู่3,800
7.พานต้นกล้วย 1 คู่ 1 พาน1,500
8.พานต้นอ้อย 1 คู่ 1 พาน1,500
ราคารวม14,100เสนอราคาพิเศษ 13,500




พานขันหมาก ชุด D
1.พานขันหมากเอก2,000
2.พานแหวนหมั้น1,200
3.พานสินสอดกระทง1,800
4.พานธูปเทียนแพ800
5.พานเชิญขันหมาก1,500
6.พานขนมมงคล 9 อย่าง 1 คู่3,800
7.พานต้นกล้วย 1 คู่ 1 พาน1,500
8.พานต้นอ้อย 1 คู่ 1 พาน1,500
9.พานขนมกง 1 คู่1,200
10.พานขนมเปี๊ยะ 1 คู่1,500
11.พานขนมโก๋ปลาเงิน ปลาทอง1,800
12.พานมะพร้าวหอม กล้วย ส้มโอ ชนิดละผล/พาน 1 คู่ 1,500
13.พานขนมจีน ห่อหมก ต้มแดง เหล้า ผ้า 1 คู่1,500
14.พานเหล้า วุ้นเส้น 1 คู่1,200
ราคารวม23,100เสนอราคาพิเศษ 22,200

พานขันหมาก ชุด E
1.พานขันหมากเอก2,000
2.พานแหวนหมั้น1,200
3.พานสินสอดกระทง1,800
4.พานธูปเทียนแพ800
5.พานเชิญขันหมาก1,500
6.พานขนมมงคล 9 อย่าง 1 คู่ 3,800
7.พานต้นกล้วย 1 คู่ 1 พาน1,500
8.พานต้นอ้อย 1 คู่ 1 พาน1,500
9.พานไก่ต้ม 1 คู่1,400
10.พานหมูนอนตอง 1 คู่1,400
11.พานส้มเช้ง (18ผล 1 พาน) 1 คู่1,600
12.พานมะพร้าวหอม กล้วย ส้มโอ  ชนิดละ 1 ผล/พาน 1คู่1,800
13.พานขนมจีน ห่อหมก ต้มแดง เหล้า ผ้า 1 คู่1,500
14.พานวุ้นเส้น 1 คู่800
15.พานขนมโก๋ปลาเงิน ปลาทอง 1 คู่1,800
16.พานขนมกง 1 คู่1,200
17.พานขนมเปี๊ยะ 1 คู่1,500
18.พานขนมจันอับ 1 คู่1,200
19.พานน้ำตาลทรายแดง (12 ถุง)800
ราคารวม29,100เสนอราคาพิเศษ 28,000

วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ให้เช่าอุปกรณ์พิธีสงฆ์และชุดตั่งรดน้ำสังฆ์ครบชุด

ท่านลูกค้าไม่ต้องลำบากยืมของวัด ต้องคอยเช็คของคืนวัดอีกต่อไป  เรามี one stop service ครบเครื่องเรื่องงานมงคล
โปรโมชั่นนำเสนอ

แพคเกจพิธีสงฆ์แบบที่ 1.ราคา 5,000 บาท
ประกอบด้วย  โต๊ะหมู่บูชา 7 สีครีมทองลายฉลุ โต๊ะกราบพระพุทธ บ่าว-สาว สีครีมทอง พนักพิงพญานาคสีครีมทอง 9 ชุด อาสนะหลุยส์สำหรับพระสงฆ์ 9 ผืน กระโถน 9 ใบ ชุดน้ำชาเบญจรงณ์ 9 ชุด เชิงเทียน กระถางธูป ชนวนจุดเทียนทองเหลือง ที่กรวดน้ำทองเหลือง 2 ชุด แจกันทองเหลืองใส่ดอกไม้ พานทองทองเหลือง สายสิณ  ขันน้ำมนต์หัวสิงห์ทองเหลือง ที่พรมน้ำมนต์  (ไม่รวมพระสงฆ์)   


พคเกจพิธีสงฆ์แบบที่ 2.ราคา 10,000 บาท
ประกอบด้วย  โต๊ะหมู่บูชา 7 สีครีมทองลายฉลุ โต๊ะกราบพระพุทธ บ่าว-สาว สีครีมทอง พนักพิงพญานาคสีครีมทอง 9 ชุด อาสนะหลุยส์สำหรับพระสงฆ์ 9 ผืน กระโถน 9 ใบ ชุดน้ำชาเบญจรงณ์ 9 ชุด เชิงเทียน กระถางธูป ชนวนจุดเทียนทองเหลือง ที่กรวดน้ำทองเหลือง 2 ชุด แจกันทองเหลืองใส่ดอกไม้ พานทองทองเหลือง สายสิณ  ขันน้ำมนต์หัวสิงห์ทองเหลือง ที่พรมน้ำมนต์  (ไม่รวมพระสงฆ์)   
พานขันหมากชุด A (ประกอบด้วย 1.พานขันหมากเอก 2.พานแหวนหมั้น 3.พานสินสอดกระทง  4.พานธูปเทียนแพแบบมาลัยคาด )   

แพคเกจพิธีสงฆ์แบบที่ 3.ราคา 17,000 บาท
ประกอบด้วย  โต๊ะหมู่บูชา 7 สีครีมทองลายฉลุ โต๊ะกราบพระพุทธ บ่าว-สาว สีครีมทอง พนักพิงพญานาคสีครีมทอง 9 ชุด อาสนะหลุยส์สำหรับพระสงฆ์ 9 ผืน กระโถน 9 ใบ ชุดน้ำชาเบญจรงณ์ 9 ชุด เชิงเทียน กระถางธูป ชนวนจุดเทียนทองเหลือง ที่กรวดน้ำทองเหลือง 2 ชุด แจกันทองเหลืองใส่ดอกไม้ พานทองทองเหลือง สายสิณ  ขันน้ำมนต์หัวสิงห์ทองเหลือง ที่พรมน้ำมนต์  (ไม่รวมพระสงฆ์)      
พานขันหมากชุด A (ประกอบด้วย 1.พานขันหมากเอก 2.พานแหวนหมั้น 3.พานสินสอดกระทง  4.พานธูปเทียนแพแบบมาลัยคาด)   
ชุดตั่งหลั่งน้ำสังฆ์แพคเกจ ที่ 1 (ประกอบด้วย-ชุดตั่งหลั่งน้ำครบชุด สีครีมทองสวยงาม/-ชุดหลั่งน้ำกะไหล่ทอง คนโทน้ำ หอยสังฆ์ ขันน้ำพานรอง ตลับแป้งเจิม พานวางอุปกรณ์ครบชุด/-พานหลั่งน้ำดอกกุหลาบ 1 คู่/-มาลัยบ่าวสาว 1 คู่พร้อมพานวางมาลัย/-Flower Stand 1 คู่/-ดอกไม้ถวายพระ 9 ชุด ฟรีฉากหลัง)



แพคเกจพิธีสงฆ์แบบที่ 4.ราคา 19,000 บาท
ประกอบด้วย  โต๊ะหมู่บูชา 7 สีครีมทองลายฉลุ โต๊ะกราบพระพุทธ บ่าว-สาว สีครีมทอง พนักพิงพญานาคสีครีมทอง 9 ชุด อาสนะหลุยส์สำหรับพระสงฆ์ 9 ผืน กระโถน 9 ใบ ชุดน้ำชาเบญจรงณ์ 9 ชุด เชิงเทียน กระถางธูป ชนวนจุดเทียนทองเหลือง ที่กรวดน้ำทองเหลือง 2 ชุด แจกันทองเหลืองใส่ดอกไม้ พานทองทองเหลือง สายสิณ  ขันน้ำมนต์หัวสิงห์ทองเหลือง ที่พรมน้ำมนต์  (ไม่รวมพระสงฆ์)      
พานขันหมากชุด A   ( ประกอบด้วย 1.พานขันหมากเอก 2.พานแหวนหมั้น 3.พานสินสอดกระทง  4.พานธูปเทียนแพแบบมาลัยคาด)    
ชุดตั่งหลั่งน้ำสังฆ์แพคเกจ ที่ 2   (ประกอบด้วย-ชุดตั่งหลั่งน้ำครบชุด สีครีมทองสวยงาม/-ชุดหลั่งน้ำกะไหล่ทอง คนโทน้ำ หอยสังฆ์ ขันน้ำพานรอง ตลับแป้งเจิม พานวางอุปกรณ์ครบชุด/-มาลัยบ่าวสาว 1 คู่พร้อมพานวางมาลัย/-พานรองหลั่งน้ำแบบไทยปักดอกรักมาลัยรูปหัวใจ 1 คู่/-Flower Stand 1 คู่/-ดอกไม้ถวายพระ 9 ชุด/-โฟมป้ายชื่อ บ่าว-สาว ฟรีฉากหลัง)


แพคเกจพิธีสงฆ์แบบที่ 5.ราคา 22,500 บาท
ประกอบด้วย  โต๊ะหมู่บูชา 7 สีครีมทองลายฉลุ โต๊ะกราบพระพุทธ บ่าว-สาว สีครีมทอง พนักพิงพญานาคสีครีมทอง 9 ชุด อาสนะหลุยส์สำหรับพระสงฆ์ 9 ผืน กระโถน 9 ใบ ชุดน้ำชาเบญจรงณ์ 9 ชุด เชิงเทียน กระถางธูป ชนวนจุดเทียนทองเหลือง ที่กรวดน้ำทองเหลือง แจกันทองเหลืองใส่ดอกไม้ พานทองทองเหลือง สายสิณ  ขันน้ำมนต์ทองเหลือง ที่พรมน้ำมนต์  นิมนต์พระพร้อมรถรับส่งพระสงฆ์    
พานขันหมากชุด B  (ประกอบด้วย1.พานขันหมากเอก 2.พานแหวนหมั้น 3.พานสินสอดกระทง 4.พานธูปเทียนแพ 5.พานเชิญขันหมาก)  
ชุดตั่งหลั่งน้ำสังฆ์แพคเกจ ที่ 2 (ประกอบด้วย-ชุดตั่งหลั่งน้ำครบชุด สีครีมทองสวยงาม/-ชุดหลั่งน้ำกะไหล่ทอง คนโทน้ำ หอยสังฆ์ ขันน้ำพานรอง ตลับแป้งเจิม พานวางอุปกรณ์ครบชุด/-มาลัยบ่าวสาว 1 คู่พร้อมพานวางมาลัย/-พานรองหลั่งน้ำแบบไทยปักดอกรักมาลัยรูปหัวใจ 1 คู่/-Flower Stand 1 คู่/-ดอกไม้ถวายพระ 9 ชุด/-โฟมป้ายชื่อ บ่าว-สาว ฟรีฉากหลัง)


***พานขันหมากเพิ่มเติมได้ ตามความต้องการของลูกค้า หรือตามแพคเกจ***
***นายพิธี 1,500 ทุกแพคเกจค่ะ ***
        

สอบถามเพิ่มเติม 0818185708   

โปรชั่นงานจัดเลี้ยง

ทางร้านมีโปรโมชั่น สำหรับงานจัดเลี้ยง ตกแต่งสถานที่จัดเลี้ยง มีให้เลือกสรรค์ หรือตามงบประมาณ เป็นหลักค่ะ

แพคเกจตกแต่งสถานที่จัดเลี้ยง แบบที่1 ราคา 18,000 บาท
1.ซุ้มถ่ายภาพ กว้าง 3 เมตร  (ราคาเปลี่ยนแปลงตามแบบ)
2.ดอกไม้สแตน 4 จุด
3.แกลเลอรี่ถ่ายภาพ
4.ป้ายชื่อ บ่าว-สาว
5.พวงมาลัย บ่าว-สาว 1 คู่
6.ช่อติดหน้าอก 6 ช่อ
7.โต๊ะต้อนรับ พร้อมดอกไม้ตกแต่ง
8.ดอกไม้โต๊ะเค้ก (รวมเค้ก 5 ชั้น เค้ก  12 ปอนด์ เพิ่ม 4,000 )
9.กล่องใส่ซอง
10.สมุดปราสาทพร 2 เล่ม
11.ช่อโยน 1 ช่อ



แพคเกจตกแต่งสถานที่จัดเลี้ยง แบบที่2 ราคา 25,000 บาท
1.ซุ้มถ่ายภาพ กว้าง 4เมตร  (ราคาเปลี่ยนแปลงตามแบบ)
2.ดอกไม้สแตน 4 จุด
3.กล่องใส่ซอง
4.ป้ายชื่อ บ่าว-สาว
5.พวงมาลัย บ่าว-สาว 1 คู่
6.ช่อติดหน้าอก 6 ช่อ
7.โต๊ะต้อนรับ พร้อมดอกไม้ตกแต่ง
8.ดอกไม้โต๊ะเค้ก (รวมเค้ก 5 ชั้น เค้ก  12 ปอนด์ เพิ่ม 4,000 )
9.แกลเลอรี่ถ่ายภาพ
10.สมุดปราสาทพร  2 เล่ม
11.เสาทางเดินเค้ก  6 เสา
12.ช่อโยน 1 ช่อ
13.ปูพรมแดงทางเดิน



แพคเกจตกแต่งสถานที่จัดเลี้ยง แบบที่3 ราคา 30,000 บาท
1.ซุ้มถ่ายภาพ กว้าง 4 เมตร  (ราคาเปลี่ยนแปลงตามแบบ)
2.ดอกไม้สแตนตั้งตามจุดต่างๆ  6 เสา
3.เสาโรมัน  สำหรับเวที 1 คู่
4.ป้ายชื่อ บ่าว-สาว
5.พวงมาลัย บ่าว-สาว 1 คู่
6.ช่อติดหน้าอก 6 ช่อ
7.โต๊ะต้อนรับ พร้อมดอกไม้ตกแต่ง
8.ดอกไม้โต๊ะเค้ก รวมเค้ก 5 ชั้น เค้ก  12 ปอนด์ 
9.แกลเลอรี่ถ่ายภาพ
10.กล่องใส่ซอง 1 กล่อง
11.สมุดประสาทพร 2 เล่ม
12.พรมแดงปูทางเดินโต๊ะเค้ก
13.ช่อโยนเจ้าสาว 1 ช่อ


***ท่านลูกค้าสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม ได้ทุกแพคเกจค่ะ สอบถามทางร้านได้น่ะค่ะ ***

การเลือกสถานที่จัดเลี้ยง เตรียมความพร้อมในวันแต่งงาน

วิธีเลือกสถานที่จัดเลี้ยง การ จะเลือกสถานที่จัดเลี้ยงนั้น เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ สำหรับคู่บ่าวสาวเลยก็ว่าได้ เพราะหลังจากดูฤกษ์ดูยามกันอย...